วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กฎหมายพาณิชย์

  • สัญญาค้ำประกันเป็นการประกันหนี้ด้วยบุคคล ( บุคคลที่ว่านี้ก็คือ.....บุคคลภายนอกด้วยนะครับ )
  • สัญญา ค้ำประกันเป็นสัญญาอุปกรณ์ ส่วนสัญญาประธานคือสัญญาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยความสมบูรณ์ของสัญญาประธานด้วย
  • สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาระหว่างบุคคลภายนอก กับเจ้าหนี้ เป็นสัญญาที่ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ก็ได้
  • สัญญาค้ำประกันต้องทำเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ( ถ้าไม่มีฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้นะครับ)
  • หลัก ฐานการค้ำประกันนั้น ผู้ค้ำประกันไม่จำเป็นต้องทำต่อเจ้าหนี้โดยตรง ทำกับลูกหนี้หรือบุคคลอื่นก็ได้ เพียงแต่ระบุข้อความแสดงว่าตนค้ำประกันหนี้นั้น และมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันด้วยก็ได้
  • หนี้ในอนาคต หรือหนี้ที่มีเงื่อนไขก็ค้ำประกันได้ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ และป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่เจ้าหนี้ในกิจการที่ลูกหนี้ได้ก่อ ขึ้นในอนาคตนั่นเอง

หนี้ประธานที่สมบูรณ์เป็นอย่างไร
  • ไม่มีวัตถุประสงค์ที่ผิดกฎหมาย
  • ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
  • ไม่ผิดแบบ
  • ไม่แสดงเจตนาวิปริต
  • กรณีอื่นๆตามเอกเทศสัญญา เช่น สัญญายืมจะสมบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์ที่ยืม เป็นต้น

ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
  • ผู้ค้ำประกันอาจจะจำกัด หรือไม่จำกัดความรับผิดของตนไว้ก็ได้
  • ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดของลูกหนี้นั้น
  • หนี้ รายเดียวกันอาจมีผู้ค้ำประกันหลายคนก็ได้ โดยผู้ค้ำประกันเหล่านั้นต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม ถึงแม้เข้าค้ำประกันคนละเวลาก็ตาม
  • เจ้าหนี้ฟ้องบังคับเอากับผู้ค้ำประกันหากยังไม่เพียงพอ เหลือเท่าไรลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดในส่วนที่เหลือ


  • ไม่ว่าจะเป็นการค้ำประกันจำกัด หรือไม่จำกัดความรับผิดผู้ค้ำยังต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่งลูกหนี้ต้องให้แก่เจ้าหนี้ด้วย เว้นแต่ เจ้าหนี้จะฟ้องคดีโดยมิได้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำรพหนี้ก่อน

ค่าฤชาธรรมเนียม
  • ค่าธรรมเนียมศาล
  • ค่าป่วยการพยาน
  • ค่าทนายความ
  • ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสาร และบังคับคดี และค่าธรรมเนียมอื่นๆตามกฎหมาย

ผลและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาค้ำประกัน

1.
ผลของสัญญาค้ำประกันก่อนการชำระหนี้
  • ลูกหนี้ผิดนัดเมื่อใดเจ้าหนี้ฟ้องผู้ค้ำประกันได้แต่นั้น ( ปพพ.มาตรา 686 )
  • ลูกหนี้ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลา ( ปพพ.มาตรา 687 ) (คือผู้ค้ำประกันไม่ต้องชำระหนี้ก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระ ถึงแม้ลูกหนี้ไม่อาจถือเอาประโยชน์นั้น)


2. สิทธิเบี่ยงบ่ายของผู้ค้ำประกัน
  • ผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้บังคับเอากับลูกหนี้ก่อนได้ ( ปพพ.มาตรา 688 )
  • ผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้บังคับเอากับทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนได้ ( ปพพ.มาตรา 689 ) ( ลูกหนี้ชำระได้ และเป็นการไม่ยากด้วยนะครับ )
  • ผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้บังคับเอากับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ยึดไว้เป็นประกันก่อนได้ ( ปพพ.มาตรา 690 )
เว้นแต่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ ( ปพพ.มาตรา 691 )
  • อายุความสะดุดหยุดลงหากเป็นโทษแก่ลูกหนี้ ก็ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ( ปพพ.มาตรา 692 )

3. ผลของสัญญาค้ำประกันหลังการชำระหนี้
  • สิทธิของผู้ค้ำประกันที่จะยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้ได้ ( ปพพ.มาตรา 694 )

4. สิทธิในการไล่เบี้ย และรับช่วงสิทธิ
  • ผู้ค้ำประกันมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้
  • ผู้ค้ำประกันมีสิทธิรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้
  • ผู้ค้ำประกันมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้ค้ำประกันคนอื่นๆ ในหนี้รายเดียวกัน
  • เจ้าหนี้ทำให้ผู้ค้ำประกันไม่สามารถเข้ารับช่วงสิทธิได้ ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้น
เว้นแต่ ( การเสียสิทธิไล่เบี้ย )
  • ผู้ค้ำประกันไม่ยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้ ( เฉพาะข้อที่ไม่ได้ยก ปพพ.มาตรา 695 )
  • ผู้ค้ำประกันชำระหนี้โดยไม่ได้บอกลูกหนี้ และลูกหนี้ได้ชำระหนี้ซ้ำ ( ปพพ.มาตรา 696 ) ( ผู้ค้ำฟ้องเจ้าหนี้ได้ในเรื่องลาภมิควรได้ )
  • มีข้อตกลงรับผิดเกินกว่าความรับผิดของลูกหนี้

5. การระงับสิ้นไปแห่งสัญญาค้ำประกัน
  • หนี้ประธานระงับสิ้นไป ( ปพพ.มาตรา 698 ) ( ชำระหนี้ครบ,ปลดหนี้,หักลบกลบหนี้,แปลงหนี้ใหม่,หนี้เกลื่อนกลืนกัน )
  • ผู้ค้ำประกันบอกเลิกสัญญาค้ำประกัน ( ปพพ.มาตรา 699 )
  • เจ้าหนี้ผ่อนระยะเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ( ปพพ.มาตรา 700 )
  • เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน ( ปพพ.มาตรา 701 )

เหตุอื่นๆที่ทำให้สัญญาค้ำประกันระงับสิ้นไป
  • เมื่อหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ และผู้ค้ำประกันระงับ
  • เมื่ผู้ค้ำประกันไม่อาจรับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ได้ทั้งหมด
  • เมื่อสัญญาค้ำประกันขาดอายุความ
  • เมื่อผู้ค้ำประกันตาย ( กรณีที่สัญญาค้ำประกันเกิดก่อนสัญญาประธาน แต่ถ้าเกิดหลังสัญญาประธานก็สืบทอดถึงทายาท ตาม ปพพ.มาตรา 1600 )

*** ตัวอย่างคำถามเรื่องสัญญาค้ำประกัน

1. กุ้งกู้เงินปู จำนวน 30,000 บาท เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2546 โดยมี ปลาเป็นผู้ค้ำประกัน มีกำหนดชำระหนี้เมื่อครบ 1 ปี เมื่อครบกำหนดชำระหนี้ กุ้งเพิกเฉยไม่ชำระหนี้ ปูเองก็ไม่ได้ทวงถามให้ชำระหนี้แต่อย่างใด จนเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2548 ปูได้ฟ้องให้ปลาชำระหนี้ ปลาอ้างเรื่องที่ปูยอมผ่อนระยะเวลาชำระหนี้ให้แก่กุ้ง โดยปลามิได้ยินยอมด้วย ปลาย่อมหลุดพ้นไม่ต้องรับผิดในการชำระหนี้ ดังนั้นข้อต่อสู้ของ ปลา ที่มีต่อ ปู ฟังขึ้นหรือไม่เพราะเหตุใด

แนวตอบ.....
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักกฎหมายไว้ว่า...

มาตรา 700 ถ้าค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน และเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ไซร้ ท่านว่าผผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด
แต่ถ้าผู้ค้ำประกันได้ตกลงด้วยในการผ่อนเวลา ท่านว่าผู้ค้ำประกันหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่

กรณีตามปัญหา สัญญาเงินกู้ระหว่างกุ้งกับปู ที่มีปลาเป็นผู้ค้ำประกันนั้น เป็นสัญญาที่กำหนดเวลาชำระหนีมีกำหนดแน่นอน ตามปฏิทิน โดยที่ปูเจ้าหนี้ไม่ได้ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้กุ้งแต่ประการใดเพียงแต่ยังไม่ ฟ้องร้องบังคับชำระนี้เท่านั้น ฉะนั้นปลาหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ผิด ประเด็นข้อกฎหมายตามปัญหาว่าเป็นการผ่อนเวลาให้กับลูกหนี้หรือไม่ ต้อง ทำความเข้าใจว่าการผ่อนเวลาก็คือการยืดเวลาการชำระหนี้ออกไป ในระหว่างการผ่อนเวลาเจ้าหนี้จะฟ้องร้องบังคับคดีระหว่างผ่อนเวลาไม่ได้นั้น เอง การผ่อนชำระหนี้ก็เป็นข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ โดยผู้ค้ำไม่ตกลงด้วยผู้ค้ำหลุดพ้นจากความรับผิด แต่ถ้าตกลงด้วยตามวรรค 2 ผู้ค้ำก็ไม่พ้นผิด

ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น ข้อต่อสู้ของปลาผู้ค้ำประกัน ที่มีต่อปูเจ้าหนี้ จึงฟังไม่ขึ้น ปลายังคงต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว




2. ชาติ กู้เงินศักดิ์ 100,000 บาท โดยเอกทำสัญญาค้ำประกัน ต่อมาชาติได้ขอให้เชิญเข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้รายนี้อีกฉบับหนึ่ง เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ชาติไม่ชำระหนี้ให้ศักดิ์ ศักดิ์จึงมาทวงถามจากเอก เอกเกรงจะเสียชื่อเสียงจึงชำระเงินให้ทั้งหมด แล้วไปเรียกร้องเอาจากชาติ แต่ชาติไม่มีเงินชำระให้ ดังนี้เอกมีสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวจากเชิญได้หรือไม่ เพียงใด

แนวตอบ.....

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วางหลักกฎหมายไว้ว่า...
มาตรา 682 วรรคสอง
ถ้าบุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันไซร้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันเหล่านั้นมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้ถึงว่าจะมิได้เข้าค้ำประกันรวมกัน
มาตรา 693 อันค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดนั้นย่อมคุ้มถึงดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่ง ลูกหนี้ค้างชำระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์ในหนี้รายนั้นด้วย

กรณีตามปัญหา จากบทบัญญัติข้างต้น เมื่อเอกได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่ศักดิ์เจ้าหนี้แล้ว เอกย่อมเข้ารับช่วงสิทธิ์ของศักดิ์ บรรดามีเหนือชาติลูกหนี้ และมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากชาติได้เต็มจำนวน แต่เมื่อปรากฏว่าชาติไม่มีเงินชำระให้ เอกก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอากับเชิญซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันอีกคนได้ แม้จะมิได้ทำสัญญาค้ำประกันรวมกันกับเชิญก็ตาม แต่ทั้งเอกและเชิญต่างก็มีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันต่อศักดิ์เจ้าหนี้ เมื่อเอกชำระหนี้ให้ศักดิ์แล้ว เอกย่อมรับช่วงสิทธิจากศักดิ์มาไล่เบี้ยเอาจากเชิญได้ แต่มีสิทธิไล่เบี้ยได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้ชำระไปเท่านั้น

ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น เอกมีสิทธิเรียกร้องเงินจากเชิญจำนวน 50,000 บาท

<  <  กฎหมายแพ่งลักษณะครอบครัว > >


                1. หญิงชายจะทำการหมั้นกันได้เมื่อมีอายครบ 17 ปีบริบูรณ์ โดยได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง เมื่อมีการผิดสัญญาหมั้นจะต้องมีความรับผิดชดใช้ค่าทดแทนกัน
                2. ผู้เยาว์เมื่อมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ จะทำการสมรสกันได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
                3. บุคคลจะทำการสมรสกันได้นั้น ต้องไม่เป็นคนวิกลจริต หรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือไม่เป็นญาติที่สืบสายโลหิตต่อกัน
                4. บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน บิดามารดามีหน้าที่ต้องอุปการะ เลี้ยงดูให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ บุตรมีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูบิดามารดา
                5. บุคคลที่รับบุตรบุญธรรมได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุแก่กว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
                6. บุตรนอกกฎหมายของชายจะมีโอกาสเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ด้วยการจดทะเบียนรับรองบุตร
                7. ทายาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม ถ้าไม่มีผู้ใดเป็นทายาทรับมรดกของผู้ตาย มรดกนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

                ขณะนี้นักเรียนเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของครอบครัว ในแต่ละครอบครัวก็มีสมาชิก ซึ่งอยู่สถานภาพต่างกัน ได้แก่ สามี ภรรยา บิดา มารด บุตร สมาชิกทุกคนจะต้องรู้หน้าที่ของตนว่า จะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะถูกต้องตามกฎหมาย นักเรียนเป็นบุตรของบิดามารดาก็ต้องรู้สิทธิหน้าที่ของตนในฐานะของบุตร บิดามารดาก็ต้องรู้สิทธิหน้าที่ของตน ต่อไปในอนาคต
                นักเรียนก็จะต้องมีโอกาสที่ได้เป็นหัวหน้าครอบครัว มีโอกาสที่จะทำการสมรสและเริ่มต้นครอบครัวใหม่ของตนเอง ฉะนั้นจึงควรได้ศึกษากฎหมายแพ่งลักษณะครอบครัว เพื่อเป็นประโยชน์กับตนเองและอาจสามารถแนะนำสมาชิกในครอบครัวอีกด้วย
                ก่อนที่ชายหญิงจะมาอยู่รวมกันเป็นครอบครัว ก็อาจจะเริ่มต้นการผูกพันกันด้วยการหมั้นแล้วจึงทำการสมรส หรือบางคู่อาจจะทำการสมรสกันเลยโดยไม่ต้องหมั้น ซึ่งมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามกฎหมาย นักเรียนกำลังอยู่ในวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้ ก็ควรจะได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ไว้บ้างพอสมควร เมื่อชายหญิงสมรสกันแล้ว และมีบุตรเกิดขึ้น จำเป็นที่จะต้องรู้สิทธิหน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตร และบุตรก็ควรรู้สิทธิหน้าที่ของตนต่อบิดามารดา บางคนไม่มีบิดามารดาแต่มีผู้ปกครอง บางคนมีความจำเป็นจะต้องเป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการรับบุตรบุญธรรม บางคนอาจจะมีบุตรโดยที่ยังไม่ถึงวัยอันควรจะแก้ปัญหาได้อย่างไร และเมื่อตายไปแล้วมรดกจะตกเป็นของใครเหล่านี้เป็นต้น

1. การหมั้น
               
การหมั้น หมายถึง การที่ชายหญิงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกัน เมื่อเกิดการหมั้นขึ้นแล้ว ถ้าฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาคือไม่ยอมทำการสมรส อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ แต่จะฟ้องศาลเพื่อให้ศาลบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการสมรสไม่ได้

                1.1 เงื่อนไขของการหมั้น
                        1) อายุของคู่หมั่น เกณฑ์ของการหมั้น คือชายและหญิงต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ เหตุที่กฎหมายกำหนดอายุของชายและหญิงจะที่เป็นคู่หมั้น เพราะการหมั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของชายและหญิง เมื่อจะทำสัญญาหมั้นกัน จึงควรให้ชายหญิงที่จะเป็นคู่หมั้นอยู่ในวัยที่จะเรียนรู้เรื่องการหมั้นได้ตามสมควร กฎหมายถือว่าชายหญิงมีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ไม่อยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้น การสมรส จึงทำการหมั้นไม่ได้ แม้บิดามารดาหรือผู้ปกครองจะให้ความยินยอมก็ตาม
                        2) ผู้เยาว์จะทำการหมั้นกันได้ต้องได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลต่อไปนี้
                                - บิดามารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา ตัวอย่างเช่น หยาดรุ้งผู้เยาว์อายุ 17 ปี  มีความประสงค์จะหมั้นกับเลิศชายอายุ 21 ปี หยาดรุ้งมีบิดามารดาที่มีชีวิต หยาดรุ้งจะต้องได้รับการยินยอมจากบิดามารดาทั้งสองคน มิใช่ได้รับความยินยอมจากบิดาเพียงคนเดียว หรือได้รับความยินยอมจากมารดาเพียงคนเดียว แต่ถ้าเลิศชายซึ่งเป็นฝ่ายชายมีอายุเพียง 18 ปี ซึ่งยังถือว่าเป็นผู้เยาว์ ถึงแม้จะเป็นฝ่ายชายก็จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาทั้งสองคนเช่นกัน
                                - บิดาหรือมารดา ในกรณีที่บิดาหรือมารดาตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ซึ่งผู้เยาว์ไม่อาจของความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
                   *** กรณีตัวอย่าง แววดาผู้เยาว์อายุ 17 ปี มีความประสงค์จะหมั้นกับเกริกไกร ซึ่งมีอายุ 25 ปี แววดาผู้เยาว์มีมารดาที่มีชีวิตอยู่แต่บิดาถึงแก่กรรมไปนานแล้ว แววดาจะต้องได้รับความยินยอมจากมารดา หรือถ้าแววดามีแต่บิดาเพราะมารดาถึงแก่กรรมไปแล้ว แววดาก็ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดาแต่เพียงผู้เดียว
                            - ผู้รับบุตรบุญธรรมในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
                            - ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3หรือมี แต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
                   *** กรณีตัวอย่าง วริศราผู้เยาว์อายุ 17 ปีบริบูรณ์ มีความประสงค์จะหมั้นกับเจษฎาอายุ 20 ปี วริศราไม่บิดามารดาแต่มีผู้ปกครองคืนนายโอภาส วริศราจะต้องได้รับความยินยอมจากนายโอภาจึงจะทำการหมั้นได้ หรือถ้าวริศราผู้เยาว์มีบิดาเพียงคนเดียว แต่บิดาถูกถอนอำนาจปกครองโดยศาล เธออยู่ในความปกครองของนายโอภาสก็จะต้องได้รับความยินยอมจากนายโอภาสแต่เพียงผู้เดียว  บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วมีอำนาจทำการหมั้นได้โดยตามลำพังตนเอง ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือรับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครอง เฉพาะแต่ผู้เยาว์เท่านั้นที่จะต้องได้รับความยินยอม การให้ความยินยอมในการหมั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบพิธีไว้ ฉะนั้นบิดามารดา หรือรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองจึงอาจให้ความยินยอม  โดยวิธีหนึ่งวิธีใด คือด้วยวาจาหรือโดยลายลักษณ์อักษรก็ได้
                1.2 ของหมั้นและสินสอดของหมั้น คือ ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและเป็นประกันว่าจะทำการสมรสกับหญิง การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบ หรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงสินสอด คือ ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรส  โดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
                  *** กรณีตัวอย่าง นายฟ้าได้หมั้นกับนางสาวเหลือง โดยนายฟ้ามอบแหวนเพชรราคา 50,000 บาทแก่นางสาวเหลืองเป็นของหมั้น แหวนหมั้นจะตกเป็นของนางสาวเหลืองทันที นายฟ้าได้มอบเงินสดจำนวน 100,000 บาทให้แก่บิดามารดาของนางสาวเหลืองเป็นสินสอด เงินสินสอดจำนวนนี้ยังไม่ได้ตกเป็นสิทธิของบิดามารดาของนางสาวเหลือง จนกว่านางสาวเหลืองจะได้ทำการสมรสกับนายฟ้า แต่ถ้านางสาวเหลืองไปยุ่งเกี่ยวฉันชู้สาวกับชายอื่น ทำให้นายฟ้าไม่อาจสมรสกับนางสาวเหลืองได้ นายฟ้าสามารถเรียกสินสอดคืนได้
                1.3 ผลของการหมั้น  เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ยหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทนในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย
              ***  กรณีตัวอย่าง นายหมึกหมั้นกับนางสาวปลา กำหนดในสมรสเรียบร้อยแล้ว นางสาวปลาได้จัดซื้อเครื่องเรือน ที่นอน หมอน มุ้ง เพื่อเตรียมการสมรสคิดเป็นเงิน 10,000 บาท แต่นายหมึกผิดสัญญาไม่ยอมสมรสกับนางสาวปลา ดังนั้นนางสาวปลามีสิทธิเรียกค่าทดแทนที่ได้จ่ายไปเนื่องในการเตรียมการสมรสได้ แต่จะฟ้องเพื่อให้ศาลบังคับนายหมึกให้ทำการสมรสกับนางสาวปลาไม่ได้
              ***  กรณีตัวอย่าง นายน้ำเงินได้หมั้นกับนางสาวชมพู นายน้ำเงินได้มอบแหวนเพชร 1 วง ราคา 50,000 บาทและรถยนต์ 1 คน ราคา 500,000 บาท ให้แก่นางสาวชมพูเป็นของหมั้น ทั้งกำหนดวันสมรสเรียบร้อยแล้ว นายน้ำเงินได้พิมพ์บัตรเชิญแขกมาในงานสมรสและซื้อเครื่องใช้เพื่อเตรียมการสมรส แต่นางสาวชมพูผิดสัญญาไม่ยอมสมรสกับนายน้ำเงิน ดังนั้นนางสาวชมพูจะต้องคืนแหวนหมั้นและรถยนต์ให้แก่นายน้ำเงิน และนายน้ำเงินมีสิทธิเรียกค่าทดแทนที่ได้จ่ายไปในการเตรียมการสมรส ถ้าตกลงกันไม่ได้ต้องให้ศาลตัดสิน เรื่องค่าทดแทนนั้นก็ขึ้นอยู่กับศาลจะวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์
                1.4 การเลิกสัญญาหมั้น    การเลิกสัญญาหมั้นด้วยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ย่อมทำได้โดยไม่ต้องทำเป็นหนังสือมีพยานลงลายมือชื่อ เมื่อเลิกสัญญากันแล้วก็กลับคืนสู่ฐานะเดิม ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้น และถ้ามีสินสอดก็ต้องคืนให้แก่ฝ่ายชายด้วยการเลิกสัญญาหมั้นด้วยเหตุที่คู่หมั้นตาย คู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกเอาค่าทดแทนกันไม่ได้    สำหรับของหมั้นหรือสินสอดนั้น ไม่ว่าชายหรือหญิงตาย ฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนให้แก่ฝ่ายชาย
              ***  กรณีตัวอย่าง ยุทธนากับทิพย์รักใคร่ชอบพอกัน ยุทธนาได้นำแหวนเพชร 1 วงหมั้นทิพย์ และทิพย์ก็รับหมั้นด้วยความเต็มใจ ถือว่าทั้งสองมีสัญญาหมั้นกันแล้ว ต่อมาคนทั้งสองมีเรื่องบาดหมางใจกันจึงตกลงเลิกสัญญาหมั้นต่อกัน ดังนั้นทิพย์ซึ่งเป็นฝ่ายหญิงจะต้องคืนแหวนเพชรซึ่งเป็นของหมั้นให้แก่ยุทธนา
                จากกรณีตัวอย่างข้างต้น ถ้าสมมติว่าทั้งยุทธนาและทิพย์หมั้นกันแล้วและไม่ได้บาดหมางใจกัน ยังเป็นคู่หมั้นที่รักกันเหมือนเดิม แต่ต่อมาทิพย์ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ทางฝ่ายทิพย์ไม่ต้องคืนแหวนหมั้นให้แก่ยุทธนา หรือถ้ายุทธนาเสียชีวิตทิพย์ก็ไม่ต้องคืนแหวนหมั้น
                ในกรณีที่ยุทธนาเสียชีวิต ทิพย์จะเรียกค่าทดแทนจากฝ่ายยุทธนาโดยอ้างว่าได้ซื้อเครื่องเรือน เพื่อเตรียมการสมรสเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไม่ได้ หรือในทางตรงกันข้าม  ถ้าทิพย์เสียชีวิต ยุทธนาจะเรียกค่าทดแทนจากฝ่ายทิพย์ย่อมไม่ได้เช่นกัน

2. การสมรส
               
การสมรส หมายถึง การที่ชายและหญิงสมัครใจเข้ามาอยู่กินกันฉันสามีภริยากัน โดยไม่เกี่ยวข้องทางชู้สาวกับบุคคลอื่นใดอีก และถ้าจะให้ถูกต้องตามกฎหมายคู่สมรสจะต้องจดทะเบียนสมรสกับเจ้าพนักงานซึ่งเป็นนายทะเบียน ได้แก่ นายอำเภอ หรือผู้อำนายการเขต

                2.1 หลักเกณฑ์การสมรส การสมรสจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 4 ประการคือ
                        1) ในการสมรสนั้น คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชายและอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นหญิง บุคคลเพศเดียวกันจะสมรสกันไม่ได้
                        2) การสมรสจะต้องเป็นการการกระทำโดยสมัครใจของชายและหญิง หากชายหญิงไม่ยินยอมสมรสกัน การสมรสนั้นเป็นโมฆะ
                        3) การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาจะต้องเป็นระยะเวลาชั่วชีวิต
                        4) การสมรสจะต้องมีคู่สมรสเพียงคนเดียว คู่สมรสจะสมรสใหม่ไม่ได้ตราบเท่าที่ยังไม่หย่าขาดจากคู่สมรสนั้น
                2.2 เงื่อนไขแห่งการสมรส
                        1) ชายและหญิงจะต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ มีข้อยกเว้นว่าศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้หากมีเหตุอันสมควร
              ***  กรณีตัวอย่าง โชคอายุ 17 ปีบริบูรณ์ อ้อยอายุ 15 ปีบริบูรณ์ ลักลอบได้เสียกันจนอ้อยเกิดตั้งครรภ์ กรณีนี้อ้อยอาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้สมรสได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งบุตรที่จะเกิดมา ถือว่าเหตุอันควร แต่ศาลจะอนุญาตหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
                        2) ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริต หรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถบุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้ เป็นคนไร้ความสามารถก็ดีหรือศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถก็ดี จำทำการสมรสไม่ได้ เพราะคนวิกลจริตเป็นคนที่ไม่มีความรู้สึกผิดชอบในการเป็นคู่ครองของกันและ กัน ไม่สามารถใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ของสามีภริยาได้
                    บุคคลวิกลจริต หมายถึง บุคคลผู้มีจิตผิดปกติซึ่งตามที่เข้าใจทั่วๆไปว่าเป็นคนบ้าและหมายความรวมถึงบุคคลที่มีอาการกิริยาผิดปกติเพราะสติวิปลาสคือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึกและขาดความรู้สึกผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวไม่สามารถประกอบอาชีพกิจการงานของตนหรือประกอบกิจการส่วนตัวของตนได้
                        3) ชายหรือหญิงมิได้เป็นญาติที่สืบสายโลหิตต่อกันโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา
                  ***  กรณีตัวอย่าง สิงห์ลักลอบได้เสียกับโฉมงามจนมีบุตรสาวด้วยกันคนหนึ่งชื่อ หวาน สิงห์ไม่ยอมรับว่าหวานเป็นบุตร และเขาได้ไปทำการสมรสกับแต๋ว ต่อมาแต๋วตาย สิงห์จึงเป็นหม้ายและสิงห์ได้มาพบรู้กับหวานและรู้สึกรักใคร่ชอบพอกันฉันชู้สาว แต่ทั้งสิงห์และหวานจะทำการสมรสกันไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นญาติในทางสืบสายโลหิต โดยถือตามหลักความจริงถึงแม้ว่าสิงห์จะไม่ได้ยอมรับว่าหวานเป็นบุตรสาวตามกฎหมายของตนตั้งแต่แรกก็ตาม
                        4) ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นบิดามารดาและบุตรต่อกัน การที่จะให้สมรสกันได้ย่อมเป็นการขัดต่อประเพณีและศีลธรรมดันดี
                        5) ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
                        6) ชายหญิงยอมเป็นสามีภริยากัน
                        7) หญิงที่เคยสมรสแล้วแต่สามีตาย หรือหย่าขาดจากสามีเดิมจะสมรสใหม่ได้ ต่อเมื่อเวลาไม่น้อยกว่า 310 วันได้ล่วงพ้นไปก่อน การที่กฎหมายวางข้อขีดขั้นสำหรับหญิงหม้ายดังกล่าวนั้น เนื่องจากจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลำบากเกี่ยวกับเด็กที่เกิดมานั้น เป็นบุตรของสามีเดิมหรือสามีใหม่ มีข้อยกเว้นว่าหญิงคลอดบุตรระหว่างนั้น หรือสมรสกกับคู่สมรสเดิม หรือมีใบรับรองแพทย์รับรองว่าหญิงไม่ได้มีครรภ์ หรือมีคำสั่งศาลให้สมรสได้
                        8) ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดามารด ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองซึ่งมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการหมั้นของผู้เยาว์
                        9) การสมรสนั้นจะต้องมีการจดทะเบียนสมรส เมื่อจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ชายหญิงย่อมเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ถ้าทำพิธีสมรสกันเฉยๆ แต่ไม่จดทะเบียนสมรสก็ถือว่าไม่เป็นสามีภริยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
3. สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร
               
นักเรียนทุกคนย่อมมีบิดามารดาด้วยกันทั้งนั้น จึงควรจะมีความรู้ในสิทธิหน้าที่ของตนอันพึงมีต่อบิดามารดา และสิทธิหน้าที่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตร จะได้รู้ว่าการกระทำใดบ้าง ที่ตนมีสิทธิจะกระทำได้ การกระทำใดบ้างที่เคยปฏิบัติไปแล้วไม่ถูกต้องจะได้ปรับปรุงแก้ไขสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรมีดังนี้
                1. บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา จะใช้ชื่อสกุลมารดาได้เมื่อไม่ปรากฏบิดา
                2. บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารด บิดามารดาจำต้องอุปการะให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์
                3. บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้
                4. บุตรฟ้องร้องบิดามารดของตนไม่ได้บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน อำนาจปกครอง คือ บรรดาสิทธิทั้งหลาย ซึ่งกฎหมายมอบให้บิดามารดา ในอันที่จะใช้แก่บุตรผู้เยาว์และทรัพย์สินของผู้เยาว์ เพื่อที่จะคุ้มครองอุปการเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะมีอายุสามารถครองชีพได้ด้วยตนเองบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา อำนาจปกครองจะอยู่กับบิดาหรือมารดาเพียงฝ่ายเดียวในกรณีดังต่อไปนี้
                    1) มารดาหรือบิดาตาย
                    2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
                    3) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
                    4) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
                    5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
                    6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิดังนี้
                            - กำหนดที่อยู่ให้บุตร
                            - ทำโทษบุตรพอสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
                            - ให้บุตรทำงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
              ***  กรณีตัวอย่าง นางบานชื่นมีอาชีพค้าขายของชำมีบุตรชื่อดอกรัก อายุ 14 ปี มีบุตรสาวชื่อ บานเช้า อายุ 8 ปี ซึ่งอยู่ในวัยเรียนหนังสือ ในวันเสาร์อาทิตย์ นางบานชื่นให้ดอกรักช่วยขายของหน้าร้านและให้บานเช้าช่วยถูบ้าน แสดงว่านางบานชื่นให้ลูกทำงานตามสมควรแก่ความสามารถเหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่
                            - เรียกบุตรคืนจากผู้อื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
              ***  กรณีตัวอย่าง นางพลอยมีบุตรสาวชื่อแหวน แหวนไปเล่นที่บ้านนายนิลซึ่งบ้านอยู่ใกล้เคียงกัน นายนิลขอให้แหวนช่วยดูแลลูกชายคนเล็กของเขาเพราะคนเลี้ยงลูกของนายนิลไม่อยู่ นายนิลสั่งแหวนว่ายังไม่ให้กลับบ้าน นางพลอยมีสิทธิเรียกแหวนคืนจากนายนิลได้
                            - จัดการทรัพย์สินของบุตรด้วยความระมัดระวัง เช่นวิญญูชนพึงกระทำ
             ***  กรณีตัวอย่าง เด็กหญิงน้ำเงินได้รับทุนการศึกษามาเป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท นายเขียวและนางขาวผู้เป็นบิดามารดาจึงนำเงินจำนวนนั้นไปฝ่ายธนาคารไว้เพื่อความปลอดภัย แสดงว่านายเขียวและนางขาวได้จัดการทรัพย์สินของบุตรด้วยความระมัดระวัง
                ในกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองโดยศาล ศาลจะจัดตั้งให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ก็ได้ โดยผู้ปกครองมีสิทธิหน้าที่คล้ายกับผู้ใช้อำนาจปกครองผู้ปกครอง ได้แก่ บุคคลอื่นนอกจากบิดามารดา ซึ่งถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อปกครองผู้เยาว์ ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้อยู่ในปกครอง
4. การรับบุตรบุญธรรม
               
นักเรียนบางคนอาจจะเป็นบุตรบุญธรรมของบิดามารดาบุญธรรม เนื่องจากเหตุต่างๆ หรือสมาชิกในครอบครัวบางคนไปเป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น ดังนั้นจึงควรรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การรับบุตรธรรม ดังนี้
                1. บุคคลที่จะรับบุตรบุญธรรมได้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุแก่กว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ผู้นั้นจะต้องให้ความยินยอมด้วย
                กรณีตัวอย่าง ดวงดาอายุ 32 ปี มีความประสงค์จะรับดวงใจซึ่งมีอายุ 16 ปี เป็นบุตรบุญธรรม อายุของผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมครบตามหลักเกณฑ์เรื่องอายุก็จริง แต่จะต้องได้รับความสมัครใจยินยอมจากดวงใจด้วย
                2. การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครองต้องได้รับความยินยอมของมารดา หรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง  ถ้าไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมดังกล่าว หรือมีแต่บิดามารดาคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนไม่สามารถแสดงเจตนายินยอมได้ หรือไม่ให้ความยินยอมและการไม่ให้ความยินยอม ปราศจากเหตุผลอันสมควรและเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพ ความเจริญ สวัสดิภาพของผู้เยาว์ มารดาหรือบิดา หรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมได้
                3. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
                4. บุตรบุญธรรมมีฐานะเช่นเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ไม่สูญสิทธิหน้าที่ในครอบครัวที่ให้กำเนิดมา
                5. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสผู้รับบุตรบุญธรรม
                กรณีตัวอย่าง เด็กชายแดงเป็นบุตรบุญธรรมของนายดำ ต่อมานายดำสมรสกับนางสาวชมพู เด็กชายแดงจะเป็นบุตรบุญธรรมของนางชมพูก็ได้ เพราะถือว่าเป็นคู่สมรสของดำ
                6. การับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
5. การรับรองบุตร
               
บุตรซึ่งเกิดจากหญิงที่เป็นภริยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรสเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิง แต่เป็นบุตรนอกกฎหมายของชาย กฎหมายเปิดโอกาสให้ชายจดทะเบียนรับรองบุตรได้ ซึ่งทำให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชาย และถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันจดทะเบียน ถ้าเป็นกรณีบุตรนอกสมรส แต่ต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่ต้องจดทะเบียนรับรองบุตรอีก
สรุปสาระสำคัญ
               
1. การหมั้น หมายถึง การที่ชายหญิงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกัน เมื่อเกิดการหมั้นขึ้นแล้ว ถ้าฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา คือ ไม่ยอมทำการสมรส อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ แต่จะฟ้องศาล เพื่อให้ศาลบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการสมรสไม่ได้
                2. ผู้เยาว์จะทำการหมั้น หรือสมรสกันได้เอมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครอง
                3. การสมรสจะต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะถือว่าถูกต้องตามกฎหมาย
                4. สิทธิและหน้าที่ของบุตร คือ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา จะใช้ชื่อสกุลของมารดาได้  เมื่อไม่ปรากฏบิดา บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา บุตรฟ้องบิดามารดาของตนไม่ได้
                5. หน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตร คือ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรผู้เยาว์ และจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้
                6. บิดามารดามีสิทธิกำหนดที่อยู่ให้บุตร ทำโทษบุตรพอสมควร เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน และให้บุตรทำงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
                7. บุคคลจะรับบุตรบุญธรรมได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม


กฎหมายแพ่งและพาณิชย์


กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือด ร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา

กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น

สรุปหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หลักทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิและการใช้สิทธิ
1.ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต (มาตรา 5)
2. ถ้ามิได้กำหนดดอกเบี้ยไว้ ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี (มาตรา 7)
3. ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านี้ก็ดี ทำลงในเอกสาร ถ้าไม่ได้ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คนแล้ว เสมอกับลงลายมือชื่อ (มาตรา 9)
4. การลงจำนวนเงินในเอกสารด้วยตัวอักษรและตัวเลข ถ้าไม่ตรงกันและมิอาจทราบเจตนาที่แท้จริงได้ ให้ใช้จำนวนเงินที่เขียนเป็นตัวอักษรเป็นประมาณ ถ้าไม่ตรงกันหลายแห่ง ให้เอาจำนวนเงินหรือปริมาณน้อยที่สุดเป็นประมาณ (มาตรา 12 , 13 )
5. ถ้าเอกสารทำไว้สองภาษา เป็นภาษาไทยภาษาหนึ่งด้วย หากมีความแตกต่างกันและไม่อาจทราบเจตนาของคู่กรณีได้ว่าจะให้ใช้ภาษาใดบังคับ ให้ใช้ภาษาไทยบังคับ (มาตรา 14)
บุคคล
☺ บุคคลธรรมดา
สภาพบุคคล ย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอด การคลอดนั้นหมายถึง การที่ทารกออกมาจากครรภ์มารดาหมดทั้งตัวแล้ว แม้จะยังไม่ตัดสายสะดือ และต้องรอดอยู่ด้วย แม้เพียงชั่วระยะเวลานิดเดียวก็มีสิทธิต่างๆ ในทรัพย์สินย้อนไปตั้งแต่วันแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดก เช่น อาจรับมรดกของบิดาซึ่งตายก่อนเด็กคลอดได้ เป็นต้น (มาตรา 15)
ภูมิลำเนาของบุคคล มีหลักตามกฎหมายดังนี้
1. ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นหลักแหล่งสำคัญ (ม.37)
2. ถ้าบุคคลมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งสับเปลี่ยนกัน หรือมีแหล่งที่ทำมาหากินเป็นปกติหลายแห่ง ก็ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น (ม. 38)
3. ถ้าภูมิลำเนาไม่ปรากฏ ให้ถือว่าถิ่นที่อยู่เป็นภูมิลำเนา (ม.39)
4. ถ้าไม่มีถิ่นที่อยู่เป็นปกติ หรือไม่มีที่ทำการงานเป็นหลักแหล่ง ถ้าพบตัวในถิ่นไหนก็ให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนา (ม. 40)
5. บุคคลอาจแสดงเจตนากำหนดภูมิลำเนา ณ ถิ่นใดเพื่อกระทำการใด ก็ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการนั้น (ม. 42)
6. ภูมิลำเนาของบุคคลบางประเภท เช่น ผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถ กฎหมายให้ใช้ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรมหรือของผู้อนุบาล (ม.44,45)
7. ข้าราชการ ภูมิลำเนาได้แก่ถิ่นที่ทำงานตามตำแหน่งหน้าที่อยู่ประจำ ถ้าเป็นเพียงแต่ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการชั่วคราวไม่ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลำเนา (ม. 46)
8. ผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ภูมิลำเนาได้แก่ เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่ จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว (ม. 47)
*** การเปลี่ยนภูมิลำเนากระทำได้โดยการแสดงเจตนาว่าจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาและย้ายถิ่นที่อยู่ (ม. 41)
ความสามารถของบุคคล 
1. ผู้เยาว์  บรรลุนิติภาวะเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (ม. 19)
      ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย(ม.20)
 สมรสเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17ปีบริบูรณ์ หรือ เมื่อศาลอนุญาตให้ทำการสมรส (ม. 1448) จำไว้ว่า “บรรลุแล้วบรรลุเลย”
ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของ “ผู้แทนโดยชอบธรรม” ก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมนั้นๆ เป็นโมฆียะ คืออาจถูกบอกล้างได้ในภายหลัง (ม.21)
ผู้เยาว์อาจทำนิติกรรมที่สมบูรณ์ได้เอง โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม คือ
1. ทำพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ (ม.25)
2. นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว (ม. 22) เช่น รับการให้โดยไม่มีข้อผูกพัน
3. นิติกรรมที่ต้องทำเองเฉพาะตัว (ม. 23) เช่น การรับรองบุตร กรณีตาม มาตรา 1548
4. นิติกรรมที่สมควรแก่ฐานานุรูป และเป็นการจำเป็นในการดำรงชีพตามควร (ม.24)
5. เมื่อผู้เยาว์ได้รับอนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมให้ประกอบการค้า (ม.27)
2. คนไร้ความสามารถ คือ คนวิกลจริตที่คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ (ม. 28) และจัดให้อยู่ในความอนุบาล นิติกรรมที่คนไร้ความสามรถกระทำลงย่อมตกเป็นโมฆียะทั้งสิ้น แม้จะได้รับความยินยอมจาก “ผู้อนุบาล” ก็ไม่ได้
(ม. 29)
ส่วนคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หากไปทำนิติกรรม ย่อมต้องถือว่ามีผลสมบูรณ์ เว้นแต่ว่า ได้กระทำในขณะจริตวิกล + คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้ว นิติกรรมนั้นจึงตกเป็นโมฆียะ (ม.30)
3. คนเสมือนไร้ความสามารถ คือบุคคลที่ปรากฏว่า ไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้ เพราะมีกายพิการ จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ แต่ไม่ถึงขนาดวิกลจริต ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ ติดสุรายาเมา เมื่อคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ โดยให้อยู่ใน “ความพิทักษ์” ก็ได้ (ม. 32)
การสิ้นสภาพบุคคล
1. ตาย (ม.15)
2. สาบสูญ (โดยผลของกฎหมาย) ได้แก่
2.1 บุคคลไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ โดยไม่มีใครทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไรตลอดระยะเวลา 5 ปี (ม.61 วรรคแรก)
2.2 บุคคลไปทำการรบหรือสงคราม หรือตกไปอยู่ในเรือเมื่ออับปราง หรือตกไปในฐานะที่จะเป็นภยันตรายแก่ชีวิตประการอื่นใด หากนับแต่เมื่อภยันตรายประการอื่นๆ ได้ผ่านพ้นไปแล้วนับได้เวลาถึง 2 ปี ยังไม่มีใครทราบว่าบุคคลนั้นเป็นตายร้ายดีอย่างไร (ม.61 วรรคสอง)
☺ นิติบุคคล เกิดขึ้นตามกฎหมาย เช่น
1. ทบวงการเมือง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรมในรัฐบาล เทศบาลและสุขาภิบาลทั้งหลาย กรมตำรวจ กองทัพบก/เรือ/อากาศ แต่กรมในกองทัพนั้นไม่เป็นนิติบุคคล
2. วัดวาอาราม เฉพาะวัดในพระพุทธศาสนา ที่เรียกกันว่าเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ส่วนถ้าเป็นมัสยิดหรือวัดของศาสนาคริสต์ ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจึงจะเป็นเจ้าของที่ดินได้
3. ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว / บริษัทจำกัด / สมาคม และมูลนิธิ ส่วนสาขาของนิติบุคคลต่างประเทศที่เข้ามาประกอบการในประเทศไทยก็เป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกับนิติบุคคลในประเทศนั้น แม้นิติบุคคลในต่างประเทศนั้นจะมิได้มาจดทะเบียนในประเทศไทยก็ตาม เมื่อนิติบุคคลดังกล่าวได้เป็นนิติบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศนั้นๆแล้ว
ทรัพย์
☺ ความหมาย
“ทรัพย์” หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง (ม.137)
“ทรัพย์สิน” หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ (ม. 138)
☺ ประเภทของทรัพย์
1.อสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น
1.1 ที่ดิน หมายถึง พื้นแผ่นดิน รวมตลอดถึง ภูเขา เกาะ และที่ชายทะเลด้วย
1.2 ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร
1.3 ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน
1.4 สิทธิอันเกี่ยวกับ 1.1, 1.2 และ 1.3 อันได้แก่ สิทธิในกรรมสิทธิ์ (ม.1336), สิทธิครอบครอง (ม.1367), สิทธิจำนอง, สิทธิเก็บกิน (ม.1417) ภาระจำยอม (ม.1387) เป็นต้น
2. สังหาริมทรัพย์ ได้แก่
2.1 ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์
2.2 สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ เช่น สิทธิจำนอง สิทธิยึดหน่วง เป็นต้น
3. ทรัพย์แบ่งได้ (ม.141) ได้แก่ทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ได้ โดยยังคงสภาพเดิมอยู่
4. ทรัพย์แบ่งไม่ได้ (ม.142) ได้แก่
4.1 ทรัพย์ที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้โดยสภาพ เช่น บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น
4.2 ทรัพย์ที่กฎหมายถือว่าแบ่งไม่ได้ เช่น หุ้นของบริษัท ส่วนควบของทรัพย์ เป็นต้น
5. ทรัพย์นอกพาณิชย์ (ม.143) ได้แก่
5.1 ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้ เช่น ก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์ เป็นต้น
5.2 ทรัพย์ที่ไม่อาจโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ที่ดินธรณีสงฆ์ ยาเสพติด เป็นต้น
☺ ส่วนประกอบของทรัพย์
1. ส่วนควบ (ม.144) ได้แก่ ส่วนซึ่งว่าโดยสภาพแห่งทรัพย์ หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจจะแยกจากกันได้ นอกจากทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป ข้อยกเว้นในเรื่องส่วนควบมีดังนี้ (ม.145, 146)
1.1 ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติ
1.2 ทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือโรงเรือนชั่วคราว
1.3 โรงเรือนหรือการปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นได้ใช้สิทธิปลูกทำลงไว้
2. อุปกรณ์ (ม.147) ได้แก่ สิ่งที่ใช้บำรุงดูแลรักษาทรัพย์ประธาน และสามารถแยกออกจากทรัพย์ประธานได้โดยไม่ทำให้เปลี่ยนแปลงรูปทรง ต่างจากการเป็นส่วนควบ
3. ดอกผล คือ ผลประโยชน์ที่ได้งอกเงยจากทรัพย์สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นเองโดยสม่ำเสมอ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (ม.148)
3.1 ดอกผลธรรมดา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม เช่น ผลไม้ น้ำนม ขนสัตว์ และลูกของสัตว์ เป็นต้น
3.2 ดอกผลนิตินัย ซึ่งเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย เช่น ดอกเบี้ย กำไร ค่าเช่า ค่าปันผล ฯ
กฎหมายพาณิชย์

หน่วยที่ 1 สภาพและหลักสำคัญของสัญญาซื้อขาย



  1. สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีคู่กรณีที่เกี่ยวข้องสองฝ่าย คือฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อโดยที่ฝ่ายผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
  2. สัญญาซื้อขายคล้ายคลึงกับเอกเทศสัญญาอื่นๆ หลายสัญญา โดยเฉพาะสัญญาที่มีลักษณะเป็นการตอบแทนด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
  3. โดยปกติทรัพย์สินทุกชนิดซื้อขายกันได้ เว้นแต่ทรัพย์นอกพาณิชย์ ซึ่งกฎหมายห้ามซื้อขายกันไว้เป็นกรณีพิเศษ
  4. บุคคลใดๆก็เป็นผู้ซื้อได้ ถ้าไม่มีกฎหมายห้ามไว้ แต่ผู้ขายนั้นโดยปกติต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือมิฉะนั้นก็ต้องเป็นบุคคลที่กฎหมายให้อำนาจไว้โดยเฉพาะให้เป็นผู้ขายได้



    1. สัญญาซื้อขาย

  1. สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยสังคมบรรพกาล และได้มีการพัฒนารูปแบบและวิธีการในลักษณะต่างๆ ตามความเจริญ และความต้องการของสังคมในแต่ละยุค แต่ละสมัย
  2. สัญญาซื้อขายเป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่ง ที่กฎหมายได้กำหนดขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการติดต่อซื้อขายกัน และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่กรณีที่ซื้อขายกัน
  3. สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่งซึ่งมีคู่กรณีที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ โดยผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย



      1. ความเป็นมาของสัญญาซื้อขาย

ยกตัวอย่างของการการซื้อที่มีการพัฒนารูปแบบ และวิธีการที่ซับซ้อนยิ่งกว่าการซื้อขายตามปกติที่เราปฏิบัติกันอยู่โดยทั่ว ๆ ไป 2 ตัวอย่าง

การซื้อขายเงินผ่อน การซื้อขายเงินเชื่อ การซื้อขายเช็ค



      1. สัญญาซื้อขายเป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่ง

ทำไมกฎหมายจึงต้องบัญญัติเอกเทศสัญญาชนิดต่างๆเอาไว้

กฎหมายบัญญัติถึงเอกเทศสัญญาชนิดต่างๆ ไว้ก็เพื่อให้เกิดความสะดวกในการทำสัญญากันและเพื่อให้เกดความเป็นธรรมแก่คู่กรณีทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นแล้วอาจจะถูกฝ่ายที่มีอำนาจกว่าเอารัดเอาเปรียบได้



ท่านเห็นว่าควรจะบัญญัติสัญญาซื้อขายไว้เป็นเอกเทศสัญญาดังเช่น ที่เป็นอยู่ใน ปพพ. หรือไม่

ไม่ควรบัญญัติเป็นเอกเทศสัญญา เพราะเป็นการจำกัดเสรีภาพในการตกลงทำสัญญาในบางกรณีที่ไม่อาจตกลงเป็นอย่างอื่นได้



      1. ลักษณะของสัญญาซื้อขาย

สัญญาซื้อขายมีลักษณะสำคัญประการใดบ้าง ให้ระบุมาให้ครบ 3 ข้อ

สัญญาซื้อขายมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ

    1. สัญญาซื้อขายจะเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่คู่กรณีเกี่ยวข้องสองฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อ
    2. สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ฝ่ายขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ซื้อขายกันให้แก่ผู้ซื้อ
    3. สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ฝ่ายผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย



    1. การเปรียบเทียบสัญญาซื้อขายกับสัญญาอื่นๆ

      1. สัญญาซื้อขายแตกต่างกับสัญญาแลกเปลี่ยนตรงที่สัญญาซื้อขายนั้น คู่สัญญาจะต้องเอาเงินแลกกับทรัพย์สินแต่สัญญาแลกเปลี่ยนนั้นคู่สัญญาเอาทรัพย์อย่างหนึ่งแลกกับทรัพย์สินอีกอย่างหนึ่ง
      2. สัญญา ซื้อขายแตกต่างกับสัญญาให้ตรงที่สัญญาซื้อขายนั้น เป็นสัญญาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีหนี้ต่างตอบแทนกันแต่สัญญาให้เป็นสัญญาที่ ไม่ต่างตอบแทนโดยผู้ให้ฝ่ายเดียวโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้นั้นให้แก่ ผู้รับโดยเสน่หา
      3. สัญญาซื้อขายทรัพย์สินแตกต่างกับสัญญาเช่าทรัพย์ตรงที่สัญญาซื้อขายนั้น มีวัตถุ ประสงค์เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ แต่สัญญาเช่านั้นมีวัตถุประสงค์เพียงให้ผู้เช่าได้ใช้ หรือได้รับประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งจากทรัพย์สินที่เช่านั้นชั่วระยะเวลาอันจำกัด
      4. สัญญาซื้อขายแตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อตรงที่สัญญาซื้อขายนั้น มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายอย่างแน่นอน แต่สัญญาเช่าซื้อนั้นอาจจะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าหากผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญากลางคัน
      5. สัญญาซื้อขายแตกต่างกับสัญญาจ้างทำของตรงที่สัญญาซื้อขาย มีวัตถุประสงค์เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน แต่สัญญาจ้างทำของนั้น มีวัตถุประสงค์เป็นการทำงานให้สำเร็จตามที่ตกลง
      6. สัญญาซื้อขายกับสัญญากู้ยืมนั้น โดยปกติย่อมแตกต่างกัน เว้นแต่ในบางกรณีที่ผู้กู้ชำระหนี้เป็นทรัพย์สินแทนเงิน จึงทำให้มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกับสัญญาซื้อขายได้



      1. สัญญาซื้อขายกับสัญญาแลกเปลี่ยน

ให้บอกความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาแลกเปลี่ยน

สัญญาซื้อขายแตกต่างกับสัญญาแลกเปลี่ยนในสะระสำคัญ คือ สัญญาซื้อขายนั้นเป็นสัญญา ที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้ผู้ซื้อแลกกับเงินที่เป็นราคาของทรัพย์สินตามที่ตกลงกัน แต่ในสัญญาแลกเปลี่ยนคู่กรณีในสัญญาต่างฝ่ายต่างโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของแต่ละฝ่ายให้แก่กัน ตัวอย่าง เช่น เขียวตกลงกับเหลืองแลกแหวนทองของตนกับนาฬิกาของเหลือง ย่อมเป็นเรื่องที่เอาทรัพย์สินเข้าแลกกัน โดยไม่มีเงินสื่อกลาง จึงเป็นสัญญาแลกเปลี่ยน มิใช่สัญญาซื้อขาย



      1. สัญญาซื้อขายกับสัญญาให้

ให้บอกความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาให้

สัญญาซื้อขายแตกต่างจากสัญญาให้ในสาระสำคัญคือ สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้เป็นการตอบแทนกับการที่ผู้ซื้อชำระราคา แต่สัญญาให้เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน ผู้ให้เป็นฝ่ายที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นให้โดยเสน่หา ตัวอย่างเช่นสมบัติยกแหวนเพชรให้แก่จารุณีบุตรสาวคนเดียว ย่อมเป็นเรื่องที่จารุณีไม่มีความผูกพันที่จะต้องกระทำการใดๆเป็นการตอบแทนนอกจากยอมรับทรัพย์สินที่ให้นั้นแต่อย่างเดียว หากเป็นเรื่องการซื้อขายฝ่ายผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต้องชำระราคาเป็นการตอบแทน



      1. สัญญาซื้อขายกับสัญญาเช่าทรัพย์

ให้บอกความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาเช่าทรัพย์

สัญญาซื้อขายแตกต่างกับสัญญาเช่าทรัพย์ในสาระสำคัญคือ สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ แต่สัญญาเช่าทรัพย์คือ สัญญาที่ไม่มีการโอนกรรม สิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า เพราะผู้ให้เช่าเพียงให้ผู้เช่าได้ใช้สอยหรือได้รับประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะ เวลาหนึ่ง แต่ผู้เช่าชำระค่าเช่าเป็นการตอบแทนการใช้ทรัพย์สินนั้น ตัวอย่าง ดำตกลงให้แดงเช่าตึกแถวเป็นเวลา 3 ปี ชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน เดือนละ 2,500 บาท ดำส่งมอบตึกแถวให้ครอบครองเพื่อใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยหรือทำสำนักงานชั่วระยะเวลา 3 ปีตามที่ตกลงให้เช่า แต่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในตึกแถวไปให้แดง เพราะสัญญาเช่าทรัพย์นั้นไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์เหมือนดังเช่นสัญญาซื้อขาย



      1. สัญญาซื้อขายกับสัญญาเช่าซื้อ

ให้บอกความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาเช่าซื้อ

สัญญาซื้อขายแตกต่างกับสัญญาเช่าซื้อในสาระสำคัญคือ สัญญาซื้อขายนั้น ผู้ขายต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อเป็นการแน่นอน แต่สัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นเรื่องเช่า โดยให้คำมั่นว่าจะขายหรือจะให้ทรัพย์สินตกเป็นสิทธิแก่ผู้ให้เช่า เมื่อผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวตามแต่จะตกลงกัน ตัวอย่างเช่น บริษัทกรุงเทพรถยนต์ จำกัด ขายรถยนต์ให้อาทิตย์ย่อมเป็นเรื่องสัญญาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่อาทิตย์ผู้ซื้อทันที ที่สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแต่ถ้าเป็นกรณีที่บริษัทฯ ให้อังคารเช่าซื้อรถยนต์ ย่อมจะยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ จนกว่าจะมีการชำระเงินค่าเช่าจนครบตามจำนวนงวดที่ตกลงกัน ให้ผู้เช่าจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อกันนั้นให้แก่ผู้เช่า



      1. สัญญาซื้อขายกับสัญญาจ้างทำของ

ให้บอกความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาจ้างทำของ

สัญญาซื้อขายแตกต่างกับสัญญาจ้างทำของในสาระสำคัญคือ สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันให้แก่ผู้ซื้อ แต่สัญญาจะจ้างทำของเป็นเรื่องที่ผู้รับจ้างตกลงทำการงานนั้นจนเป็นผลสำเร็จ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อเสื้อผ้าที่ตัดไว้สำเร็จรูปย่อมเป็นเรื่องซื้อขาย แต่ถ้า ซื้อผ้าไปจ้างช่างตัดเสื้อให้ ย่อมเป็นเรื่องจ้างทำของ



      1. สัญญาซื้อขายกับสัญญากู้ยืม

ให้บอกความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญากู้ยืม

สัญญาซื้อขายแตกต่างกับสัญญากู้ยืมในสาระสำคัญคือ สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ผู้ขายโอนกรรทมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อต้องชำระราคาให้แก่ผู้ขาย แต่สัญญากู้ยืมนั้นผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในเงินที่กู้ยืมกันนั้นให้แก่ผู้ยืม โดยผู้ยืมจะตอบแทนการให้ยืมเงินเป็นดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้ อันที่จริงแล้วสัญญาทั้งสองชนิดแตกต่างกัน แต่บางครั้งอาจคล้ายกัน ถ้ามีข้อสัญญาให้โอนทรัพย์สินที่เป็นประกันการกู้ยืมให้แก่ผู้ให้ยืม หากผู้ยืมไม่ชำระหนี้ที่ยืมไป



    1. ทรัพย์สินที่ซื้อขาย

  1. โดยปกติทรัพย์สินทุกชนิดย่อมซื้อขายกันได้ เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติห้ามซื้อขายไว้เป็นพิเศษ
  2. ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันไม่ได้คือทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ได้แก่ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้โดยสภาพและทรัพย์ที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้โดยเฉพาะ
  3. ทรัพย์สินในอนาคตซึ่งผู้ขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์ก็อาจเป็นวัตถุแห่งสัญญาซื้อขายได้ หากผู้ขายสามารถจัดหาหรือจัดทำขึ้นได้ในภายหลัง เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อได้ตามที่ตกลงในสัญญา



      1. ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันได้

ทรัพย์สินชนิดใดบ้างที่ซื้อขายกันได้

ทรัพย์สินทุกชนิดย่อมมีการซื้อขายกันได้ เว้นแต่เป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ซึ่งโดยสภาพไม่อาจซื้อขายกันได้ หรือมีกฎหมายบัญญัติไว้ห้ามโอนไว้โดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องตรวจดูกฎหมายเป็นเรื่อง ๆ ไป ว่าทรัพย์สินใดบ้างห้ามโอนหรือห้ามซื้อขาย



      1. ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันไม่ได้

ทรัพย์สินประเภทใดบ้างที่ไม่อาจซื้อขายกันได้

ทรัพย์สินที่ไม่อาจซื้อขายนั้น คือ

  1. ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้ เช่น ดวงจันทร์ ดวงตา แสงแดด สายลม เป็นต้น
  2. ทรัพย์ที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่วัด และที่ธรณีสงฆ์เป็นต้น



      1. ปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์สิน

การทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินในอนาคตนั้นอาจทำได้เพียงใดหรือไม่เพราะเหตุใด

การทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินในอนาคตนั้นย่อมทำได้ เพราะในขณะทำสัญญาซื้อขายนั้น ผู้ขายอาจทำสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา ซึ่งจะยังไม่ทำให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ และส่งมอบทรัพย์สินทันทีเมื่อทำสัญญาซื้อขาย ในกรณีเช่นนี้ผู้ขายจึงมีเวลาที่จะจัดหาหรือจัดทำสินทรัพย์ที่ตกลงซื้อขายกันนั้นเพื่อส่งมอบให้ตามข้อตกลงในสัญญา



    1. ผู้ซื้อและผู้ขาย

  1. ผู้ซื้อคือบุคคลใดๆ ก็ได้ที่ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้เป็นผู้ซื้อ
  2. ผู้ขายคือผู้ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่จะเป็นผู้ขายทรัพย์นั้นได้
  3. ในบางกรณีแม้ผู้ขายจะไม่มีกรรมสิทธิ์อยู่ก็ตาม แต่ผู้ซื้ออาจได้กรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมายอันเป็นข้อยกเว้นจากหลักทั่วไปที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอน



      1. ผู้ซื้อ

บุคคลใดอาจเป็นผู้ซื้อได้บ้าง

บุคคลใดๆ ก็อาจเป็นผู้ซื้อได้ ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้โดยเฉพาะ เช่น ประมวลกฎหมายที่ดินห้ามคนต่างด้าวซื้อที่ดินในราชอาณาจักรไทย



      1. ผู้ขาย

บุคคลใดอาจเป็นผู้ขาย

บุคคลที่อาจเป็นผู้ซื้อขายได้คือ

  1. เจ้าของในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น
  2. ผู้ที่กฎหมายให้อำนาจขายทรัพย์สินนั้นได้ เช่น ผู้ใช้อำนาจปกครอง เจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นต้น



กรณีใดที่แม้ผู้ขายไม่มีกรรมสิทธิ์ แต่ผู้ซื้อก็อาจได้กรรมสิทธิ์โดยผลแห่งกฎหมาย

กรณีที่ผู้ขายไม่มีสิทธิ์ แต่ผู้ซื้ออาจได้กรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมายนั้นมีดังต่อไปนี้คือ

  1. ผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตจากผู้รับโอนทรัพย์สินที่ได้มาโดยนิติกรรมที่เป็นโมฆะเนื่องจากการแสดงเจตนาลวงตาม ปพพ. มาตรา 155
  2. ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองปรปักษ์จนผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์แล้ว หากว่าซื้อโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยไม่อาจเพิกถอนได้ (มาตรา 1299 วรรค 2) ประกอบกับมาตรา 1300
  3. ผู้ซื้อสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 1303
  4. ผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตจากผู้รับโอนทรัพย์สินมาจากนิติกรรมที่เป็นโมฆียะแล้วนิติกรรม นั้นถูกบอกล้างให้เป็นโมฆะในภายหลัง ตามมาตรา 1329
  5. สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลหรือเจ้าพนัก งานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ตามมาตรา 1330
  6. ผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ตามมาตรา 1332
กฎหมายแพ่ง



 






กฎหมายแพ่ง ของไทยเราบัญญัติในรูปของประมวลกฎหมาย รวมกับ กฎหมายพาณิชย์“  เรียกว่า  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เขียนเป็นอักษรย่อว่า ป... มีอยู่ทั้งหมด 6 บรรพหรือ 6 ตอน
                บรรพ   1                หลักทั่วไป
                บรรพ   2                หนี้
                บรรพ   3                เอกเทศสัญญา
                บรรพ   4                ทรัพย์สิน
                บรรพ   5                ครอบครัว
                บรรพ   6                มรดก
                กฎหมายว่าด้วยบุคคล
                บุคคล คือสิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.       บุคคลธรรมดา
หมายถึง      คนหรือมนุษย์เรานี่เอง กฎหมายกำหนดให้บุคคลธรรมดามีสภาพบุคคลตั้งแต่เมื่อคลอดออกจาก
ครรภ์ มารดาและมีชีวิตอยู่รอดเป็นทารก กล่าวคือเริ่มมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายและจำมีอยู่เรื่อย ๆ ไปจนกระทั่งสิ้นสภาพบุคคลคือตาย หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญในเมื่อผู้นั้นหายไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่ อยู่หลายปีตามที่กฎหมายกำหนด
                ปัญหา ที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลธรรมดาอยู่ที่ว่า บุคคลนั้นมีความสามารถทำนิติกรรมสัญญาผูกพันทรัพย์สินของตนเองได้เพียงใด มีกฎหมายจำกัดหรือตัดทอดความสามารถของบุคคลไว้อย่างไรบ้างหรือไม่
                บุคคลที่กฎหมายจำกัดตัดทอนความสามารถ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ มี 3 ประเภทคือ
1.       ผู้เยาว์
2.       คนไร้ความสามารถ
3.       คนเสมือนไร้ความสามารถ

สำหรับคนไร้ความสามารถและคนเสมือไร้ความสามารถนั้น เป็นคนวิกลจริตหรือหย่อนความสามารถเพราะ
สภาพร่าง กายพิการหรือจิตใจไม่ปกติ และศาลได้มีคำสั่งให้บุคคลเหล่านั้นมีสถานะดังกล่าว และกำหนดให้มีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาในขอบเขตจำกัด ซึ่งทางปฎิบัติแล้วไม่มีปัญหาเพราะไม่ค่อยจะมีบุคคลเหล่านี้ตามคำสั่งศาล เท่าไรนัก และท่าจะศึกษาโดยละเอียดในระดับสูงต่อไป
                ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่อ่อนอายุ หย่อนความรู้สึกผิดชอบ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์อาจบรรลุนิติภาวะได้ 2 กรณีคือ
                                1. โดยอายุ                             กล่าวคือ                 เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
                                2. โดยการสมรส                  กล่าวคือ                 เมื่อผู้เยาว์อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์และได้ทำการสมรสกัน(จดทะเบียนสมรส) บุคคลนั้นก็พ้นจากภาวะผู้เยาว์เป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะ
                โดยปกติผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้อง    ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม  คือ บิดามารดาก่อน มิฉะนั้นสิ่งที่ทำไปจะตกเป็นโมฆียะ ดังนั้นกิจการดังกล่าวบิดามารดาจึงเป็นผู้จัดการแทนผู้เยาว์เป็นส่วนมาก
                นิติกรรมดังต่อไปนี้ผู้เยาว์สามารถทำได้เองและมีผลสมบูรณ์ คือ
                1. นิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว เช่น เขาให้ที่ดินแก่ผู้เยาว์โดยเสน่หา ผู้เยาว์รับการให้ได้เอง
                2. นิติกรรม ที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น การรับรองบุตร กล่าวคือ ผู้เยาว์ที่เป็นชายมีบุตรกับหญิงซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เยาว์สามารถจดทะเบียนรับรองเด็กว่าเป็นบุตรของตนได้เพราะเป็นเรื่องเฉพาะ ตัว
                3. นิติกรรม ที่จำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้เยาว์ ซึ่งต้องเป็นการเลี้ยงชีพจริง ๆ และสมแก่ฐานะของผู้เยาว์ เช่น ซื้ออาหาร เครื่องนุ่งห่มหลับนอน หนังสือตำราเป็นต้น
                4. ผู้เยาว์อาจทำนินัยกรรมกำหนดทรัพย์สินของตนก่อนตายได้ เมื่อมีอายุครบ 15 ปี

                2. นิติบุคคล
                นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตามกฎหมาย กล่าวคือ คณะบุคคล หน่วยงาน กองทรัพย์สิน หรือกิจการอันใดอันหนึ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรืออนุญาตให้จัดตั้งขึ้นมีฐานะเป็นบุคคล เช่น กระทรวง ทบวง กรม วัดวาอาราม สมาคม มูลนิธิ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายรับรองให้มีสภาพอย่างบุคคลธรรมดา เช่น สามารถเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือเป็นโจทก์ เป็นจำเลย เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ เว้นแต่สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งว่าโดยสภาพแล้ว จะพึงมีพึงได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น นิติบุคคลจะทำการสมรสหรือเป็นสามีภรรยาหรือรับบุตรบุญธรรมไม่ได้ เป็นต้น
                ผู้แทนของนิติบุคคลที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล เช่น
                1. กระทรวงและทบวง                       มีรัฐมนตรี                             เป็นผู้แทน
                2. กรม                                                    มีอธิบดี                                  เป็นผู้แทน
                3. จังหวัด                                               มีผู้ว่าราชการจังหวัด           เป็นผู้แทน
                4. วัดวาอาราม                                       มีเจ้าอาวาส                            เป็นผู้แทน
                5. บริษัทจำกัด                                       มีกรรมการ                            เป็นผู้แทน
                6. ห้างหุ้นส่วนจำกัด                           มีกรรมการ                            เป็นผู้แทน
                7. สมาคม                                               มีหุ้นส่วนผู้จัดการ               เป็นผู้แทน
                8. มูลนิธิ                                                มีคณะกรรมการ                   เป็นผู้แทน
                9. เทศบาล                                             มีนายกเทศมนตรี เป็นผู้แทน

ความรับผิดชอบเด็กและเยาวชนในทางแพ่ง
                ตาม หลักกฎหมายแพ่ง โดยปกติผู้เยาว์ไม่สามารถทำนิติกรรมสัญญาที่สำคัญ ๆ ใด ๆ ได้ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ทางปฏิบัติจึงไม่ค่อยเกิดปัญญาในเรื่องความรับผิดของผู้เยาว์ในหนี้สินที่มี มูลนี้อันเกิดจากนิติกรรมสัญญา
                มูลหนี้ที่ผู้เยาว์อาจจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่อาจพบได้ก็คือ มูลหนี้หรือหนี้สินอันเกิดจากการกระทำ ละเมิดของผู้เยาว์คือด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ผู้เยาว์กระทำให้ผู้อื่นเสียหาย
                ความรับผิดทางแพ่ง ไม่มีกฎหมายยกเว้นให้ผู้เยาว์ไม่ต้องรับผิดหรือรับผิดน้อยลง เช่นความรับผิดทางอาญาแต่อย่างใด

การบังคับคดีทางแพ่ง
                ทรัพย์สิน ทั้งหมดของลูกหนี้ย่อมผูกพันที่จะถูกบังคับนำมาชำระหนี้ กล่าวคือ เมื่อลูกหนี้ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว หนี้นั้นย่อมผูกพันกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งหมด กองทรัพย์ดังกล่าวนี้อาจจะเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วในขณะที่ก่อให้เกิด หนี้ หรืออาจเป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้จะได้มาในอนาคต รวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย แต่เจ้าหนี้ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) มี สิทธิ์ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้เพียงเท่าที่พอจะชำระหนี้แก่ตน จะยึดเกิดกว่าที่จำเป็นจะต้องชำระหนี้แก่ตนมิได้ และการยึดทรัพย์จะต้องกระทำโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาลเท่านั้น เจ้าหนี้จะทำการยึดทรัพย์ลูกหนี้เองไม่ได้

ข้อยกเว้นการยึดทรัพย์ของลูกหนี้
                1. ห้าม มิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดทรัพย์สินบางอย่างของลูกหนี้ เช่น เครื่องนุ่งห่มหลับนอน หรือเครื่องใช้ในครัวเรือนโดยประมาณรวมกันไม่เกิน  5,000 บาท  เครื่อง มือหรือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพ เช่น เลื่อย ค้อนของช่างไม้ หรือจักรเย็บผ้าของช่างตัดเสื้อผ้า เป็นต้น โดยประมาณราไม่เกิน 10,000 บาท หรือเงินเดือนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการจะยึดไม่ได้ (เงินเดือนของลูกจ้างเอกชนยึดได้)
                2. ห้ามมิให้เจ้าหนี้ยึดเครื่องมือในการประกอบกสิกรรมตามสมควรของกสิกร เช่น เครื่องสูบน้ำ รถไถนาที่ใช้ในการทำไร่นา เป็นต้น
                ถ้าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ เจ้าหนี้จะบังคับลูกหนี้ให้ทำการงานแทนการชำระหนี้  หรือให้ตรวจจับเอาตัวไปคุมขังไม่ได้  จึงอาจพูดได้ง่าย ๆ  ได้ว่าหนี้สินทางแพ่งไม่ว่าจะมีมากสักเท่าไร เจ้าตัวจะเอาตัวลูกหนี้มากักขัง จำคุก หรือให้ทำการงานแทนการชำระหนี้ไม่ได้