วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กฎหมายแพ่ง



 






กฎหมายแพ่ง ของไทยเราบัญญัติในรูปของประมวลกฎหมาย รวมกับ กฎหมายพาณิชย์“  เรียกว่า  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เขียนเป็นอักษรย่อว่า ป... มีอยู่ทั้งหมด 6 บรรพหรือ 6 ตอน
                บรรพ   1                หลักทั่วไป
                บรรพ   2                หนี้
                บรรพ   3                เอกเทศสัญญา
                บรรพ   4                ทรัพย์สิน
                บรรพ   5                ครอบครัว
                บรรพ   6                มรดก
                กฎหมายว่าด้วยบุคคล
                บุคคล คือสิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.       บุคคลธรรมดา
หมายถึง      คนหรือมนุษย์เรานี่เอง กฎหมายกำหนดให้บุคคลธรรมดามีสภาพบุคคลตั้งแต่เมื่อคลอดออกจาก
ครรภ์ มารดาและมีชีวิตอยู่รอดเป็นทารก กล่าวคือเริ่มมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายและจำมีอยู่เรื่อย ๆ ไปจนกระทั่งสิ้นสภาพบุคคลคือตาย หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญในเมื่อผู้นั้นหายไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่ อยู่หลายปีตามที่กฎหมายกำหนด
                ปัญหา ที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลธรรมดาอยู่ที่ว่า บุคคลนั้นมีความสามารถทำนิติกรรมสัญญาผูกพันทรัพย์สินของตนเองได้เพียงใด มีกฎหมายจำกัดหรือตัดทอดความสามารถของบุคคลไว้อย่างไรบ้างหรือไม่
                บุคคลที่กฎหมายจำกัดตัดทอนความสามารถ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ มี 3 ประเภทคือ
1.       ผู้เยาว์
2.       คนไร้ความสามารถ
3.       คนเสมือนไร้ความสามารถ

สำหรับคนไร้ความสามารถและคนเสมือไร้ความสามารถนั้น เป็นคนวิกลจริตหรือหย่อนความสามารถเพราะ
สภาพร่าง กายพิการหรือจิตใจไม่ปกติ และศาลได้มีคำสั่งให้บุคคลเหล่านั้นมีสถานะดังกล่าว และกำหนดให้มีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาในขอบเขตจำกัด ซึ่งทางปฎิบัติแล้วไม่มีปัญหาเพราะไม่ค่อยจะมีบุคคลเหล่านี้ตามคำสั่งศาล เท่าไรนัก และท่าจะศึกษาโดยละเอียดในระดับสูงต่อไป
                ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่อ่อนอายุ หย่อนความรู้สึกผิดชอบ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์อาจบรรลุนิติภาวะได้ 2 กรณีคือ
                                1. โดยอายุ                             กล่าวคือ                 เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
                                2. โดยการสมรส                  กล่าวคือ                 เมื่อผู้เยาว์อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์และได้ทำการสมรสกัน(จดทะเบียนสมรส) บุคคลนั้นก็พ้นจากภาวะผู้เยาว์เป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะ
                โดยปกติผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้อง    ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม  คือ บิดามารดาก่อน มิฉะนั้นสิ่งที่ทำไปจะตกเป็นโมฆียะ ดังนั้นกิจการดังกล่าวบิดามารดาจึงเป็นผู้จัดการแทนผู้เยาว์เป็นส่วนมาก
                นิติกรรมดังต่อไปนี้ผู้เยาว์สามารถทำได้เองและมีผลสมบูรณ์ คือ
                1. นิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว เช่น เขาให้ที่ดินแก่ผู้เยาว์โดยเสน่หา ผู้เยาว์รับการให้ได้เอง
                2. นิติกรรม ที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น การรับรองบุตร กล่าวคือ ผู้เยาว์ที่เป็นชายมีบุตรกับหญิงซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เยาว์สามารถจดทะเบียนรับรองเด็กว่าเป็นบุตรของตนได้เพราะเป็นเรื่องเฉพาะ ตัว
                3. นิติกรรม ที่จำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้เยาว์ ซึ่งต้องเป็นการเลี้ยงชีพจริง ๆ และสมแก่ฐานะของผู้เยาว์ เช่น ซื้ออาหาร เครื่องนุ่งห่มหลับนอน หนังสือตำราเป็นต้น
                4. ผู้เยาว์อาจทำนินัยกรรมกำหนดทรัพย์สินของตนก่อนตายได้ เมื่อมีอายุครบ 15 ปี

                2. นิติบุคคล
                นิติบุคคล หมายถึง บุคคลตามกฎหมาย กล่าวคือ คณะบุคคล หน่วยงาน กองทรัพย์สิน หรือกิจการอันใดอันหนึ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรืออนุญาตให้จัดตั้งขึ้นมีฐานะเป็นบุคคล เช่น กระทรวง ทบวง กรม วัดวาอาราม สมาคม มูลนิธิ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายรับรองให้มีสภาพอย่างบุคคลธรรมดา เช่น สามารถเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือเป็นโจทก์ เป็นจำเลย เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ เว้นแต่สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งว่าโดยสภาพแล้ว จะพึงมีพึงได้เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น นิติบุคคลจะทำการสมรสหรือเป็นสามีภรรยาหรือรับบุตรบุญธรรมไม่ได้ เป็นต้น
                ผู้แทนของนิติบุคคลที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล เช่น
                1. กระทรวงและทบวง                       มีรัฐมนตรี                             เป็นผู้แทน
                2. กรม                                                    มีอธิบดี                                  เป็นผู้แทน
                3. จังหวัด                                               มีผู้ว่าราชการจังหวัด           เป็นผู้แทน
                4. วัดวาอาราม                                       มีเจ้าอาวาส                            เป็นผู้แทน
                5. บริษัทจำกัด                                       มีกรรมการ                            เป็นผู้แทน
                6. ห้างหุ้นส่วนจำกัด                           มีกรรมการ                            เป็นผู้แทน
                7. สมาคม                                               มีหุ้นส่วนผู้จัดการ               เป็นผู้แทน
                8. มูลนิธิ                                                มีคณะกรรมการ                   เป็นผู้แทน
                9. เทศบาล                                             มีนายกเทศมนตรี เป็นผู้แทน

ความรับผิดชอบเด็กและเยาวชนในทางแพ่ง
                ตาม หลักกฎหมายแพ่ง โดยปกติผู้เยาว์ไม่สามารถทำนิติกรรมสัญญาที่สำคัญ ๆ ใด ๆ ได้ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน ทางปฏิบัติจึงไม่ค่อยเกิดปัญญาในเรื่องความรับผิดของผู้เยาว์ในหนี้สินที่มี มูลนี้อันเกิดจากนิติกรรมสัญญา
                มูลหนี้ที่ผู้เยาว์อาจจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่อาจพบได้ก็คือ มูลหนี้หรือหนี้สินอันเกิดจากการกระทำ ละเมิดของผู้เยาว์คือด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ผู้เยาว์กระทำให้ผู้อื่นเสียหาย
                ความรับผิดทางแพ่ง ไม่มีกฎหมายยกเว้นให้ผู้เยาว์ไม่ต้องรับผิดหรือรับผิดน้อยลง เช่นความรับผิดทางอาญาแต่อย่างใด

การบังคับคดีทางแพ่ง
                ทรัพย์สิน ทั้งหมดของลูกหนี้ย่อมผูกพันที่จะถูกบังคับนำมาชำระหนี้ กล่าวคือ เมื่อลูกหนี้ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว หนี้นั้นย่อมผูกพันกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งหมด กองทรัพย์ดังกล่าวนี้อาจจะเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วในขณะที่ก่อให้เกิด หนี้ หรืออาจเป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้จะได้มาในอนาคต รวมทั้งเงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งบุคคลภายนอกค้างชำระแก่ลูกหนี้ด้วย แต่เจ้าหนี้ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) มี สิทธิ์ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้เพียงเท่าที่พอจะชำระหนี้แก่ตน จะยึดเกิดกว่าที่จำเป็นจะต้องชำระหนี้แก่ตนมิได้ และการยึดทรัพย์จะต้องกระทำโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาลเท่านั้น เจ้าหนี้จะทำการยึดทรัพย์ลูกหนี้เองไม่ได้

ข้อยกเว้นการยึดทรัพย์ของลูกหนี้
                1. ห้าม มิให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดทรัพย์สินบางอย่างของลูกหนี้ เช่น เครื่องนุ่งห่มหลับนอน หรือเครื่องใช้ในครัวเรือนโดยประมาณรวมกันไม่เกิน  5,000 บาท  เครื่อง มือหรือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพ เช่น เลื่อย ค้อนของช่างไม้ หรือจักรเย็บผ้าของช่างตัดเสื้อผ้า เป็นต้น โดยประมาณราไม่เกิน 10,000 บาท หรือเงินเดือนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการจะยึดไม่ได้ (เงินเดือนของลูกจ้างเอกชนยึดได้)
                2. ห้ามมิให้เจ้าหนี้ยึดเครื่องมือในการประกอบกสิกรรมตามสมควรของกสิกร เช่น เครื่องสูบน้ำ รถไถนาที่ใช้ในการทำไร่นา เป็นต้น
                ถ้าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ เจ้าหนี้จะบังคับลูกหนี้ให้ทำการงานแทนการชำระหนี้  หรือให้ตรวจจับเอาตัวไปคุมขังไม่ได้  จึงอาจพูดได้ง่าย ๆ  ได้ว่าหนี้สินทางแพ่งไม่ว่าจะมีมากสักเท่าไร เจ้าตัวจะเอาตัวลูกหนี้มากักขัง จำคุก หรือให้ทำการงานแทนการชำระหนี้ไม่ได้

1 ความคิดเห็น:

  1. oxoxoxoxoxoxoxoxoxxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxoxxoxoxoxoxoxo

    ตอบลบ